วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการเล่านิทาน



                             

1.การเล่านิทานแบบปากเปล่า เป็นนิทานที่ผู้เล่าเรื่องจะต้องเตรียมตัวให้พร้อม ตั้งแต่การเลือกเรื่องให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มผู้ฟังนิทานปากเปล่าเป็นนิทานที่ดึงดูดและเร้าความสนใจของผู้ฟังด้วยน้ำเสียง แววตา และท่าทางประกอบการเล่าของผู้เล่าที่สง่างามและพอเหมาะพอดี

2.นิทานที่เล่าโดยใช้สื่ออุปกรณ์ในขณะที่เล่า เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะต้องใช้สื่อที่เตรียมหรือหามาเพื่อใช้ประกอบการเล่า เช่น เล่าโดยใช้หนังสือ นิทานหุ่นนิ้วมือ นิทานเชิด นิทานเชือก เป็นต้น หรือขณะเล่าอาจมีดนตรีประกอบจังหวะเพื่อทำให้การเล่าสนุกสนานยิ่งขึ้น

3.การเล่านิทานประกอบท่าทาง การเล่านิทานแบบนี้เป็นการเล่านิทานที่มีชีวิตชีวามากกว่าการเล่านิทานปากเปล่า เพราะเด็กสามารถติดตามเรื่องที่เล่าได้ และจินตนาการเป็นรูปธรรมมากขึ้นตามท่าทางของผู้เล่า สนุกสนานมากขึ้นเพราะเห็นภาพพจน์ของเรื่องที่เล่า ท่าทางที่ใช้ประกอบการเล่านิทานอาจเป็นท่าทางของผู้เล่าท่าทางแสดงร่วมของเด็ก ได้แก่ การทำหน้าตา การแสดงท่าทางกาย หรือการเล่นนิ้วมือประกอบการเล่า

4. การเล่านิทานประกอบภาพ ภาพที่ใช้ในการเล่ามีหลายชนิด มีทั้งภาพถ่าย ภาพโปสเตอร์ ภาพจากหนังสือ ภาพวาด ภาพสไลด์ ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพฉาย การที่มีภาพสวยๆ มาประกอบการเล่าเป็นการจูงใจให้เด็กติดตามเรื่องราวด้วยความอยากรู้ เด็กจะสนุกสนานมากขึ้นถ้าในขณะฟังเรื่องและดูภาพ ผู้เล่าจะต้องกระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็นและร่วมสร้างจินตนาการให้กับนิทานที่เล่า

5.นิทานวาดไปเล่าไป เป็นการเล่านิทานที่ผู้เล่าจะต้องมีประสบการณ์การเล่านิทานแบบปากเปล่าอยู่มากพอสมควร แต่ต้องเพิ่มการวาดรูปในขณะเล่าเรื่องราว รูปหรือภาพที่เล่าออกมาอาจสอดคล้องกับเรื่องที่เล่าหรือบางครั้งเมื่อเล่าจบรูปที่วาดจะไม่สอดคล้องกับเรื่องที่เล่าเลยก็ได้คือจะได้ภาพใหม่เกิดขึ้น

6.นิทานพับกระดาษและฉีกกระดาษ เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะต้องเล่านิทานพร้อมๆกับการพับกระดาษและฉีกกระดาษจะต้องพอดี กับเหตุการณ์ๆหรือสัมพันธ์กันอย่างพอดีพอเหมาะตลอดเรื่องการเล่านิทานทั้งหมดนั้นจะน่าสนใจหรือไม่ อยู่ที่วิธีการเล่า น้ำเสียง การเว้นจังหวะและระยะเวลาในการนำเสนอนิทาน

7.การเล่านิทานประกอบเส้นเชือก เป็นนิทานที่ผู้เล่าจะเล่าแบบปากเปล่า ประกอบกับการสร้างสรรค์เชือกให้มีความสัมพันธ์กับการเล่าอย่างต่อเนื่อง ผู้ดูหรือผู้ฟังจะตื่นเต้นกับการสร้างสรรค์เชือกจากผู้เล่าเป็นรูปร่างต่างๆ ประกอบกับการเล่าเรื่อง

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า


                                                  นิทานเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง
                                                             
                                                  นิทานเรื่องหมู 3 ตัว

                                                        

หลักในการเลือกนิทาน



                            

พีชรี วาศวิท (2537:63) และ สุภัสสร วัชรคุปต์ (2543 : 37) ได้ให้แนวทางในการเลือกเรื่องเล่าที่ให้เหมาะสมกับวัยนักเรียนที่ คล้ายคลึงกันดังนี้.....
1. เป็นเรื่องสั้นที่มีใจความสมบูรณ์ โดยปกติจะมีความยาวประมาณ 15-20 นาที มีการดำเนินเรื่องได้อย่างรวดเร็ว เน้นเหตุการณ์เดียวให้นักเรียนพอคาดคะเนเชื่อได้บ้างอาจสอดแทรกเกร็ดที่ชวนให้นักเรียนสงสัยว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เพื่อทำให้เรื่องมีรสชาติตื่นเต้น
2. เป็นเรื่องที่นักเรียนให้ความสนใจ อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตเด็กๆ ครอบครัว สัตว์หรือเรื่องที่เด็กจินตนาการตามได้
3. เป็นเรื่องที่มีบทสนทนามากๆ เพราะนักเรียนส่วนมากไม่สามารถฟังเรื่องราวที่เป็นความเรียงได้ดีพอและภาษาง่ายๆประโยคสั้นๆมีการกล่าวซ้ำคำสัมผัส ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนจดจำเรื่องได้ง่ายและรวดเร็ว
4. เป็นเรื่องที่มีตัวละครน้อย ซึ่งประกอบด้วยตัวละครเอก และตัวประกอบ ชื่อของตัวละครเป็นชื่อง่ายๆโดนตัวละครควรเน้นให้เห็นลักษณะเด่นของตัวละครแต่ละตัว เพื่อนักเรียนจะได้เข้าใจความหมาย
5. เป็นเนื้อเรื่องที่จบง่ายๆและน่าพึงพอใจ เมื่อนักเรียนฟังเรื่องเล่าจบนักเรียนควรมีความสุขหรือถ้ามีความทุกข์ก็ต้องมีคติสอนใจด้วย ซึ่งเนื้อเรื่องควรสอดแทรกคติธรรมสอนใจ และส่งเสริมให้นักเรียนมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม



การเลือกนิทานให้เหมาะกับวัยของเด็ก
               

               สำหรับทารกในครรภ์เป็นนิทานอะไรก็ได้แต่ขอให้เป็นเสียงของพ่อแม่ที่เล่าให้ลูกฟัง หาช่วงเวลาสบายๆที่แม่กำลังพักผ่อน ภาวะจิตใจสงบไม่มีสิ่งรบกวนแล้วค่อยเริ่มเล่านิทานให้ลูกฟัง

เด็กอายุ 1-6 เดือน หนังสือนิทานต้องปลอดภัยคำนึงถึงวัสดุ ที่นำมาทำ เช่น หนังสือผ้านุ่มๆที่มีสีสันสวยงามและสะดุดตา กระตุ้นสัมผัสของเด็กด้วยวัสดุต่างๆเช่นผ้าสำลี ผ้าสักหลาด ผ้าดิบ หรือใส่วัสดุข้างในให้แตกต่างเมื่อขยำ เขย่าแล้วเกิดเสียงไม่อันตรายเมื่อนำเข้าปากเด็ก

เด็กอายุ 6-12 เดือน ยังคงต้องเลือกหนังสือที่ทำจากวัสดุที่ปลอดภัย เด็กเริ่มนั่งได้สนใจมองภาพสีสวยงามชัดเจนไม่ต้องมีรายละเอียดมาก อาจอุ้มเด็กนั่งฟังนิทานบนตัก หรือช่วงที่เด็กอาบน้ำเป็นช่วงที่เด็กตื่นตัวเลือกเล่านิทานลอยน้ำ (ทำจาก พลาสติกหรือยาง) ก็ทำให้เด็กสนใจและเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี

เด็กอายุ 1-2 ขวบ หน้าหนังสือต้องแข็งแรงคงทน ไม่ต้องมีตัวหนังสือมากภาพชัดเจนเด็กมองภาพแล้วสามารถรู้เรื่องราว จำนวนหน้าไม่ควรเกิน 10 หน้า เช่น หนังสือชุดรวมเรื่องเอกของโลก สำนักพิมพ์แพรว เพื่อนเด็ก ทุกเล่มจะใช้น้องหมีเป็นสื่อ อาทิน้องหมีสวัสดี น้องหมีมอมแมม

เด็กอายุ 2-3 ขวบ นิทานยังคงต้องมีลักษณะที่คงทน มีเทคนิคพิเศษในเล่มเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น มีภาพซ่อนยุด้านหลังประตู มีเสียง หรือเด็กสามารถหยิบใส่ส่วนประกอบของหนังสือได้ เนื้อเรื่องต้องสั้นมีตัวละครไม่มากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก สิ่งต่างๆรอบตัว เช่น ครอบครัว เพื่อน การปรับตัว การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง